New Products
เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด
มอเตอร์ไฟฟ้าที่ทางบริษัทจำหน่ายจะเป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระเเสตรง (AC Motor) ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. ชนิด 1 Phase (2 สาย) จะใช้กับแรงดันไฟฟ้า220V. จะมีแรงม้าไม่สูง ส่วนใหญ่ใช้ตามบ้านเรือน
2. ชนิด 3 Phase (3 สาย) จะใช้กับแรงดันไฟฟ้า380V. ส่วนใหญ่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง (IE2) มีคุณสมบัติ ดังนี้
1. ประหยัดพลังงาน
2. ลดต้นทุนที่เกิดจากพลังงาน (ค่าไฟ)
3. ลดต้นทุนการบำรุงรักษา
งานประกอบเกียร์ทด NMRV ประกอบกับมอเตอร์หน้าแปลนเล็ก B14 ค่ะ ใช้ในงานที่มีพื้นที่จำกัดค่ะ เจริญเมืองจัดให้ตามใจคุณลูกค้าเลยค่ะ
บริษัท เจริญเมืองแมชชินเนอรี่ จำกัด เราคือผู้ผลิตและจัดจำหน่าย มอเตอร์เกียร์ มอเตอร์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ มอเตอร์เกียร์ มอเตอร์ไฟฟ้า สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมรายใหญ่ของประเทศ ศูนย์รวมมอเตอร์ไฟฟ้า มอเตอร์เกียร์ เกียร์ทด อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์ส่งกำลังอื่นๆทั้งจากยุโรป อเมริกา และไต้หวัน ในราคาพิเศษ พร้อมส่ง และบริการหลังการขาย โดยทีมช่างผู้ชำนาญ
เจริญเมืองแมชชินเนอรี่ (CRM) จำหน่ายมอเตอร์ไฟฟ้า มอเตอร์เกียร์ มอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก มอเตอร์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ มอเตอร์ไฟฟ้าราคาถูก มอเตอร์เกียร์ 2 สาย แบบขาตั้ง / HORIZONTAL TYPE มอเตอร์โบว์เวอร์ 2 ใบพัด / DOUBLE-STAGE RING BLOWER ยอยยางอุตสาหกรรม / NEO-FLEX COUPLING มอเตอร์กันระเบิด (บลาซิล) / Explosion Proof Motor (Brazil) มอเตอร์กันระเบิด แบบหน้าแปลน (อินเดีย) / FRAMEPROOF MOTORS มอเตอร์เกียร์ ขนาดเล็ก / MOTOR GEAR MINI มอเตอร์เกียร์
มอเตอร์เกียร์ทดรอบ มอเตอร์เกียร์ปรับรอบ หน้าแปลน มอเตอร์เกียร์ ขาตั้ง
เกียร์ เกียร์ทด เกียร์บ๊อกซ์ เกียร์ทดรอบ เกียร์ปรับรอบ เกียร์ยูนิต
เกียร์ระบบไซโคลไดร์ฟ วอล์มเกียร์ทดรอบ ทดรอบเกียร์ ประกอบชุดเกียร์
ชุดเกียร์ มอเตอร์เขย่า / VIBRATE MOTOR ZW 220 V. มอเตอร์เขย่า / VIBRATE MOTOR VZO
อุปกรณ์ส่งกำลัง เครื่องควบคุมการเคลื่อนที่ อินเวอร์เตอร์ ชุดปรับรอบ ชุดปรับรอบความเร็วรอบมอเตอร์ DC ชุดคอนโทรล สปีดคอนโทรล มอเตอร์กันระเบิด มอเตอร์ประหยัดพลังงาน มอเตอร์กันน้ำ มอเตอร์ลีเนียร์ มอเตอร์ 2 สปีด มอเตอร์เขย่า มอเตอร์สั่น มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส และอุปกรณ์ส่งกำลังอื่นๆทั้งจากยุโรป อเมริกา และไต้หวัน ราคาถูกและคุณภาพสูง
เราเป็นผู้นำเรื่องมอเตอร์ จำหน่ายมอเตอร์ไฟฟ้า โรงงานมอเตอร์ไฟฟ้า ตัวแทนจำหน่ายมอเตอร์ บริษัทขายมอเตอร์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ส่งกำลังอื่นๆทั้งจากยุโรป อเมริกา และไต้หวันในราคาพิเศษพร้อมส่งและบริการหลังการขาย โดยทีมช่างผู้ชำนาญ
มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล การทำงานปกติของมอเตอร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กในตัวมอเตอร์
และสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสในขดลวดทำให้เกิดแรงดูดและแรงผลักของสนามแม่เหล็กทั้งสอง มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานกลมีทั้งพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับและพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง
มอเตอร์ประกอบด้วยขดลวดที่พันรอบแกนโลหะที่วางอยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็ก
โดยเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังขดลวดที่อยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็ก
จะทำให้ขดลวดหมุนไปรอบแกน และเมื่อสลับขั้วไฟฟ้า
การหมุนของขดลวดจะหมุนกลับทิศทางเดิม ในงานอุตสาหกรรม
มอเตอร์มีหลายแบบหลายชนิดซึ่งควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับงานที่เกี่ยวข้อง
แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ตามลักษณะการใช้งานกระแสไฟฟ้า ประกอบด้วยขดลวดที่พันรอบแกนโลหะที่วางอยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็ก โดยเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังขดลวดที่อยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็ก จะทำให้ขดลวดหมุนไปรอบแกน และเมื่อสลับขั้วไฟฟ้า การหมุนของขดลวดจะหมุนกลับทิศทางเดิม
มอเตอร์ (Motor) มี 2 ประเภท คือ
1. มอเตอร์กระแสตรง (DC Motor)
2. มอเตอร์กระแสสลับ (AC Motor)
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current Motor ) หรือเรียกว่าดี.ซี มอเตอร์ (D.C. MOTOR) เป็นมอเตอร์ที่ต้องใช้ไฟฟ้ากระแสตรงผ่านเข้าไปในขดลวดอาร์เมเจอร์เพื่อทำให้เกิดการดูดและผลักกันของแม่เหล็กถาวรกับแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากขดลวดมอเตอร์จึงหมุนได้ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง นิยมใช้กันมากในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะมีคุณสมบัติที่ดีเด่นในด้านการปรับความเร็วได้ตั้งแต่ความเร็วต่ำสุดจนถึงสูงสุด
มอเตอร์กระแสสลับ (AC Motor) เป็นมอเตอร์ที่ต้องใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ โดยใช้หลักการดูดและผลักกันของแม่เหล็กถาวรกับแม่เหล็กไฟฟ้าจากขดลวดมาทำให้เกิดการหมุนของมอเตอร์
หลักการทำงานของมอเตอร์ เมื่อมีกระแสไหลในขดลวดตัวนำที่พันอยู่บนแกนอาร์เมเจอร์ จะเกิดสันแรงแม่เหล็กรอบ ๆ ตัวนำ และทำปฏิกิริยากับเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดจากขั้วแม่เหล็กของมอเตอร์ ทำให้เกิดแรงผลักขึ้นบนตัวนำทำให้อาร์เมเจอร์หมุนไปได้ขดลวดที่มีกระแสไฟฟ้าไหลและวางอยู่บนแกนของอาร์เมเจอร์ โดยวางห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะ r กำหนดให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าขดลวดที่ปลาย A และไหลออกที่ปลาย B จากคุณสมบัติของเส้นแรงแม่เหล็กจะไม่ตัดผ่านซึ่งกันและกัน ดังนั้นปริมาณของเส้นแรงแม่เหล็กจะมีจำนวนมากที่ด้านบนของปลาย A จึงทำให้เกิดแรง F1 กดตัวนำ A ลงด้านล่างและขณะเดียวกันที่ปลาย B นั้น เส้นแรงแม่เหล็กจะมีปริมาณมากที่ด้านหน้าทำให้เกิดแรง F2 ดันให้ตัวนำ B เคลื่อนที่ด้านบนของแรง F1 และ F2 นี้เองทำให้อาร์เมเจอร์ของมอเตอร์เกิดการเคลื่อนที่ไปได้ดังนั้นการทำงานของมอเตอร์จึงขึ้นอยู่กับหลักการที่ว่า เมื่อเอาตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปวางในสนามแม่เหล็ก มันจึงพยายามทำให้ตัวนำเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กคุณสมบัติของมอเตอร์ไฟฟ้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ คุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติทางเทคนิค ดังนี้
คุณสมบัติทั่วไป เป็นคุณสมบัติประจำตัวของมอเตอร์ ไฟฟ้าแต่ละประเภทที่ควรจะทราบอย่างกว้าง ๆ โดยมิได้เจาะลึกเข้าไปในเนื้อหาเชิงวิชาการแต่อย่างใด ได้แก่ ลักษณะโครงสร้าง ลักษณะงาน ลักษณะของวงจรเช่นคุณสมบัติ ของมอเตอร์อนุกรม คือ ลักษณะโครงสร้าง ประกอบด้วยลวดหนามแม่เหล็กที่มีความต้านทานต่ำมาก (พันด้วยลวดทองแดงเส้นใหญ่น้อยรอบแกนขั้วแม่เหล็ก) ต่อเป็นอนุกรมกับอาร์เมเจอร์และต่อโดยตรงกับแรงดันเมน ลักษณะวงจร A1 – A2 เป็นอาร์เมเจอร์ต่อเป็นอนุกรมกับขดลวดสนามแม่เหล็กชุดอนุกรม D1 – D2 และต่อโดยตรงกับสายเมน L+, L- และลักษณะสนามแม่เหล็กทำให้ความเร็วสูงเมื่อโหลดลง จึงเป็นมอเตอร์ที่หมุนไม่คงที่ความเร็วเปลี่ยนแปลงไปตามโหลดจะเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้เป็นมอเตอร์สตาร์ทเครื่องพ่นน้ำคุณสมบัติทางเทคนิคเป็นคุณสมบัติประจำเครื่องกลไฟฟ้าแต่ละประเภทเช่นเดียวกัน ที่ให้รายละเอียดซึ่งเจาะลึกเข้าไปในเชิงวิชาการ สามารถทดสอบและวัดด้วยเครื่องวัดได้ด้วยวิธีทดลองในห้องปฏิบัติการทดลอง ส่วนใหญ่จะแสดงด้วยกราฟเพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าหนึ่งกับอีกค่าหนึ่ง เช่น สมรรถในการกำเนิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแสดงด้วย “กราฟแม่เหล็กอิ่มตัว (Saturation หรือ Magnetization curve)” สมรรถนะในการจ่ายโหลดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแสดงด้วย External Characteristic ส่วนคุณสมบัติทางเทคนิคของมอเตอร์จะแสดงด้วย Performance Curve ซึ่งได้แก่ สมรรถนะในการหมุนขับโหลด (Speed load Curves หรือ Speed/load Characteristic) แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วรอบกับกระแสมอเตอร์ (n = ความเร็วรอบให้อยู่บนแกน Y หรือ Ordinate และ Ia = กระแสอาร์เมเจอร์ให้อยู่บนแกน X หรือ abscissae) หรืออาจให้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วรอบ(n เ เป็น ordinate หรือ แกน Y) กับทอร์ค หรือกำลังที่หมุนขับงาน ( T= ทอร์ด, P=กำลังวัตต์หรือกิโลวัตต์ ให้อยู่บนแกน x หรือ abscissae ) จุดประสงค์เพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของความเร็วรอบของมอเตอร์ที่หมุนขับโหลดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อโหลดเปลี่ยนแปลงไป
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง เป็นต้นกำลังขับเคลื่อนที่สำคัญอย่างหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมเพราะมีคุณสมบัติที่ดีเด่นในด้านการปรับความเร็วได้ตั้งแต่ความเร็วต่ำสุดจนถึงสูงสุด นิยมใช้กันมากในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานทอผ้า โรงงานเส้นใยโพลีเอสเตอร์ โรงงานถลุงโลหะ ฯลฯ
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส (Single Phase Motor)
1. สปลิทเฟสมอเตอร์(Split phase motor)
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าสลับชนิดเฟสเดียวแบบสปลิท เฟสมอเตอร์มีขนาดแรงม้าขนาดตั้งแต่ 1/4 แรงม้า , 1/3 แรงม้า, 1/2 แรงม้าจะมีขนาดไม่เกิน 1 แรงม้าบางทีนิยมเรียกสปลิทเฟสมอเตอร์นี้ว่าอินดักชั่นมอเตอร์( Induction motor) มอเตอร์ชนิดนี้นิยมใช้งานมากในตู้เย็น เครื่องสูบน้ าขนาดเล็ก เครื่องซักผ้า เป็นต้น
2. คาปาซิเตอร์มอเตอร์ (Capacitor Motor)
คาปาซิเตอร์เตอร์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟสที่มีลักษณะคล้ายสปลิทเฟสมอเตอร์มากต่างกันตรงที่มีคาปาซิสเตอร์เพิ่มขึ้นมาท าให้มอเตอร์แบบนี้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสปลิทเฟสมอเตอร์ คือมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงใช้กระแสขณะสตาร์ทน้อยมอเตอร์ชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่ 1/20 แรงม้าถึง10 แรงม้า มอเตอร์นี้นิยมใช้งานเกี่ยวกับ ปั๊มน ้า เครื่องอัดลม ตู้แช่ตู้เย็น ฯลฯ
2.1 คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ ( Capacitor start motor ) ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิสเตอร์สตาร์ทมอเตอร์เหมือนกับสปลิทเฟส แต่วงจรขดลวดสตาร์ทพันด้วยขดลวดใหญ่ขึ้นกว่าสปลิทเฟสและพันจำนวนรอบมากขึ้นกว่าขดลวดชุดรัน แล้วต่อตัวคาปาซิเตอร์ ( ชนิดอิเล็กโทรไลต์ )อนุกรมเข้าในวงจรขดลวดสตาร์ท มีสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางตัดตัวคาปาซิสเตอร์และขดสตาร์ทออกจากวงจร
2.2 คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ ( Capacitor run motor ) ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาพาซิสเตอร์รัน
มอเตอร์เหมือนกับชนิดคาพาซิเตอร์สตาร์ท แต่ไม่มีสวิตช์แรงเหวี่ยง
ตัวคาปาซิสเตอร์จะต่ออยู่ในวงจร ตลอดเวลา
ทำให้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ดีขึ้นและโดยที่คาปาซิสเตอร์ต้องต่อถาวรอยู่ขณะทำงานดังนั้นคาปาซิ
เตอร์ประเภทน้ำมัน หรือกระดาษฉาบโลหะ
2.3 คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ ( Capacitor start and run motor )
ลักษณะโครงสร้างของคาปาซิสเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ชนิดนี้จะมีคาปาซิเตอร์2 ตัวคือคาปาซิสเตอร์สตาร์ทกับคาปาซิสเตอร์รัน คาปาซิสเตอร์สตาร์ทต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางหรือเรียกว่าเซ็นติฟูกัลสวิตช์ส่วนคาปาซิสเตอร์รันจะต่ออยู่กับวงจรตลอดเวลา คาปาซิสเตอร์ทั้งสองจะต่อขนานกันซึ่งค่าของคาปาซิเตอร์ทั้งสองนั้นมีค่าแตกต่างกัน
3. รีพัลชั่นมอเตอร์(Repulsion Motor)
เป็นมอเตอร์ที่ มีขดลวดโรเตอร์ (Rotor) จะต่อเข้ากับคอมมิวเตเตอร์และมีแปรงถ่านเป็นตัวต่อลัดวงจร จึงทำให้ปรับความเร็วและแรงบิดได้ โดยการปรับต าแหน่งแปรงถ่าน สเตเตอร์( Stator ) จะมีขดลวดพันอยู่ในร่องเพียงชุดเดียวเหมือนกับขดรันของสปลิทเฟสมอเตอร์ เรียกว่า ขดลวดเมน (Main winding) ต่อกับแหล่งจ่ายไฟโดยตรง แรงบิดเริ่มหมุนสูง ความเร็วคงที่ มีขนาด 0.37-7.5 กิโลวัตต์ (10 แรงม้า) ใช้กับงาน ปั๊มคอมเพลสเซอร์ ปั๊มลม ปั๊มน้ำขนาดใหญ่
4. ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ (Universal Motor)
เป็นมอเตอร์ขนาดเล็กมีขนาดก าลังไฟฟ้าตั้งแต่ 1/200 แรงม้าถึง 1/30 แรงม้า นำไปใช้ได้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงและใช้ได้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส มอเตอร์ชนิดนี้มีคุณสมบัติที่โดดเด่น คือให้แรงบิดเริ่มหมุนสูง นำไปปรับความเร็วได้ทั้งปรับความเร็วได้ง่ายทั้งวงจรลดแรงดันและวงจรควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ นิยมนำไปใช้เป็นตัวขับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องบดและผสมอาหาร มีดโกนหนวดไฟฟ้า เครื่องนวดไฟฟ้า มอเตอร์จักรเย็บผ้า สว่านไฟฟ้า เป็นต้น
5. เช็ดเด็ดโพลมอเตอร์ (Shaded Pole Motor)
เป็นมอเตอร์ขนาดเล็กที่สุดมีแรงบิดเริ่มหมุนต่ำมากนำไปใช้งานได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ๆ เช่น ไดร์เป่าผม พัดลมขนาดเล็ก
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบ่งออกตามโครงสร้างและหลักการทำงานของมอเตอร์ได้ 2 แบบ คือ
1. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบอินดักชั่น (3 Phase Induction Motor)
2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบซิงโครนัส (3 Phase Synchronous Motor)
1. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบอินดักชั่น
มอเตอร์ไฟสลับ 3 ที่มีคุณสมบัติที่ดี คือมีความเร็วรอบคงที่เนื่องจากความเร็วรอบอินดักชั่นมอเตอร์ขึ้นอยู่กับความถี่ (Frequency) ของแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ มีราคาถูก โครงสร้างไม่ซับซ้อน สะดวกในการบำรุงรักษาเพราะไม่มีคอมมิวเตเตอร์และแปรงถ่านเหมือนมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง เมื่อใช้ร่วมกับเครื่องควบคุมความเร็วแบบอินเวอร์เตอร์ (Invertor) สามารถควบคุมความเร็ว (Speed) ได้ตั้งแต่ศูนย์จนถึงความเร็วตามพิกัดของมอเตอร์ นิยมใช้กันมาก เป็นต้น กำลังในโรงงานอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนลิฟท์ ขับเคลื่อนสายพานลำเลียง ขับเคลื่อนเครื่องจักรไฟฟ้า เช่น เครื่องไส เครื่องกลึง มอเตอร์
2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟสแบบซิงโครนัสเป็นมอเตอร์ได้ใหญ่ที่สุด
ซิงโครนัสมอเตอร์เป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุด ที่ขนาดพิกัดของกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 150 kW (200 hp) จนถึง 15 MW (20,000 hp) มีความเร็วตั้งแต่ 150 ถึง 1,800 RPM